สีในงานกราฟิกและความหมาย
สีมีบทบาทสำคัญในการรับรู้ทางสายตาของเรา ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมมนุษย์ และสีในงานกราฟิก มีความหมายและผลกระทบทางจิตวิทยาที่แตกต่างกันไปตามวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน นอกเหนือจากความแตกต่างทางวัฒนธรรมแล้ว จิตวิทยาสียังได้รับผลกระทบอย่างมากจากความชอบส่วนบุคคล จิตวิทยาสีเกี่ยวข้องกับการใช้ทฤษฎีสี ซึ่งเป็นการ ประยุกต์ใช้จริงในการผสมและจับคู่เฉดสีต่างๆ เพื่อสำรวจแนวคิดต่างๆ เช่น การรับรู้สีและผลของการผสมสี
ระบบสีในงานกราฟิกและที่ใช้กับภาพกราฟิก
โดยทั่วไปสีในธรรมชาติและสีที่สร้างขึ้น จะมีรูปแบบการมองเห็นของสีที่แตกต่างกัน ซึ่งรูปแบบการมองเห็นสีที่ใช้ในงานด้านกราฟิกทั่วไปนั้น มีอยู่ด้วยกัน 4 ระบบ ได้แก่
1. ระบบสี RGB ตามหลักการแสดงสีของทีวีสีหรือจอมอนิเตอร์
2. ระบบสี CMYK ตามหลักการแสดงสีของเครื่องพิมพ์
3. ระบบสี HSB ตามหลักการมองเห็นสีของสายตามนุษย์
4. ระบบสี LAB ตามหลักการแสดงสีที่ไม่ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ใดๆ สามารถใช้กับสีที่เกิดจากอุปกรณ์ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นจอคอมพิวเตอร์หรือเครื่องพิมพ์
ระบบสี RGB
ย่อมาจากคำว่า Red Green และ Blue เป็นระบบสีที่เกิดจากการรวมกันของแสงสีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน เมื่อมีการใช้สัดส่วนของ 3 สีนี้ต่างกัน จะทำให้เกิดสีต่างๆ ได้อีกมากมายถึง 16.7 ล้านสี ซึ่งใกล้เคียงกับสีที่ตาเรามองเห็นปกติ โดยสีที่ได้จากการผสมสีขึ้นอยู่กับความเข้มของสี ถ้าหากสีมีความเข้มมากเมื่อนำมาผสมกันจะทำให้เกิดเป็นสีขาว จึงเรียกระบบสีนี้ว่า Additive หรือการผสมสีแบบบวกหลักการแสดงสีของจอคอมพิวเตอร์นั้นจะแสดงสี
ระบบสี CMYK
ย่อมาจากคำว่า Cyan Magenta Yellow และ Black เป็นระบบสีมาตรฐานที่เหมาะกับงานพิมพ์ พิมพ์ออกทางกระดาษหรือวัสดุผิวเรียบอื่น ๆ โดยทำการแก้ไขจุดบกพร่องของระบบสี RGB ที่เครื่องพิมพ์ ไม่สามารถพิมพ์สีบางสีออกไปได้ ซึ่งประกอบด้วยสีหลัก 4 สี ได้แก่ สีฟ้า สีชมพูม่วง สีเหลือง และสีดำ เมื่อนำสีทั้งหมดมาผสมกันจะเกิดเป็นสีดำ จึงเรียกระบบสีนี้ว่า Subtractive Color หลักการเกิดสีของระบบ
ระบบสี HSB
เป็นระบบสีแบบการมองเห็นของสายตามนุษย์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
Hue เป็นสีต่าง ๆ ที่สะท้อนออกมาจากวัตถุแล้วเข้าสู่สายตา ทำให้เราสามารถมองเห็นวัตถุเป็นสีต่าง ๆ ได้ ซึ่งแต่ละสีจะแตกต่างกันตามความยาวของคลื่นแสงที่มากระทบวัตถุและสะท้อนกลับมาที่สายตา ค่า Hue ถูกวัดโดยตำแหน่งการแสดงสีบนมาตรฐานวงล้อของสี (Standard Color Wheel) ซึ่งถูกแทนค่าสีด้วยองศา 0 ถึง 360 องศา แต่โดยทั่ว ๆ ไปแล้วมักจะเรียกการแสดงสีนั้น ๆ เป็นชื่อของสีเลย เช่น สีแดง สีม่วง สีเหลือง
Saturation เป็นการกำหนดค่าความสดของสี โดยค่าความสดของสีจะเริ่มที่ 0 ถึง 100 หากกำหนด Saturation เป็น 0สีจะมีความสดน้อย แต่ถ้ากำหนดที่ 100 สีจะมีความสดมากค่าสีจะถูกวัดโดยตำแหน่ง การแสดงสีบน Standard Color Wheelค่าของ Saturation จะเพิ่มขึ้นจากจุดกึ่งกลางจนถึงเส้นขอบโดยค่าที่ เส้นขอบจะมีสีที่ชัดเจนและอิ่มตัวที่สุดที่ 100
Brightness เป็นระดับความสว่างและความมืดของสี โดยค่าความสว่างของสีจะเริ่มที่ 0 ถึง 100 หาก กำหนดค่า 0 ความสว่างจะน้อยซึ่งจะเป็นสีดำ แต่ถ้ากำหนดค่า 100 สีจะมีความสว่างมากที่สุด
ระบบสี LAB
เป็นมาตรฐานสำหรับการวัดค่าแบบครอบคลุมทุกสีในระบบสี RGB และ CMYK สามารถใช้กับสีที่ เกิดจากอุปกรณ์ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นจอคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ สแกนเนอร์ รวมทั้งอุปกรณ์อื่นๆ ส่วนประกอบของระบบสีนี้ ได้แก่
L (Luminance) เป็นค่าความสว่าง จะมีค่าตั้งแต่ 0 (สีดำ) ไปจนถึงค่า 100 (สีขาว)
A แสดงการไล่สีจากสีเขียวไปยังสีแดง
B แสดงการไล่สีจากสีน้ำเงินไปยังสีเหลือง
สีอุ่นและสีเย็น warm colors and cool colors
เราสามารถแบ่งวงจรสีออกเป็น 2 ส่วนด้วยเส้นแนวดิ่งเส้นหนึ่ง ได้แก่ สีวรรณะอุ่นคือเหลือง (ครึ่งหนึ่ง) เหลืองส้ม ส้ม แดงส้ม แดง ม่วงแดง และม่วง อีกซีกคือสีวรรณะเย็นคือ สีเหลือง (อีกครึ่งหนึ่ง) เหลืองเขียว น้ำเงินเขียว น้ำเงิน ม่วงน้ำเงิน และม่วง (อีกครึ่งหนึ่ง)
โดยสีม่วงและสีเหลืองจะเป็นวรรณะกลางๆ คือถ้าอยู่ในกลุ่มสีอุ่นก็จะอุ่นด้วย ถ้าอยู่ในกลุ่มร้อนก็จะร้อนด้วย
ความหมายสี
สีมีบทบาทสำคัญในการรับรู้ทางสายตาของเรา เนื่องจากมันมีอิทธิพลต่อปฏิกิริยาเกี่ยวกับรอบตัวเรา ความเข้าใจพื้นฐานของการรับรู้สีและจิตวิทยาในการออกแบบกราฟฟิคและเว็บจึงเป็นสิ่งสำคัญในลำดับเพื่อสร้างพาเลทที่ทำให้ผู้ชมเกิดปฏิกิริยาที่เหมาะสม