ตัวอักษรในงานกราฟิก
หน้าที่หลักของการออกแบบกราฟิกเป็นเรื่องของการสื่อสารไปยังผู้รับสาร องค์ประกอบหนึ่งของการสื่อความที่สำคัญก็คือตัวอักษร และตัวอักษรในงานกราฟิก ก็คือส่วนหนึ่งของความสวยงามในงานกราฟิก
ตัวอักษรในงานกราฟิก
ชนิดของตัวอักษรภาษาอังกฤษ
SERIF
ตัวพิมพ์แบบเชอริฟ (Serif Typefaces) บางครั้งเราเรียกว่า ตัวมีเชิงมักมีความหนาบางของเส้นตัวอักษรไม่เท่ากันตลอดทั้งตัวอักษร ในอดีตนิยมการพิมพ์ข้อความยาวๆ เนื่องจากอ่านได้ง่ายกว่าตัวอักษรไม่มีฐานหรือติ่งตัวพิมพ์ ซึ่งแบ่งย่อยประเภทได้อีกดังนี้
SANS SERIF
ตัวพิมพ์แบบแซนส์ เซอริฟ (Sans-Serif Typefaces) จุดเด่นของตัวพิมพ์ประเภทนี้คือ การเป็นตัวพิมพ์ที่ไม่มีฐานหรือติ่ง บางครั้งเราเรียกว่าตัวไม่มีเชิงส่วนใหญ่มักมีลักษณะความหนาบางเท่ากันทั้งตัวอักษร แต่ตัวพิมพ์ประเภทนี้ที่มีความหนาบางไม่เท่ากันทั้งตัวอักษรเราจะเรียกมันว่าตัวกอธิกส์ (Gothice) ตัวพิมพ์แบบแซนส์เซอริฟนั้นเป็นตัวพิมพ์ที่อ่านยากกว่าตัวพิมพ์ที่มีฐานหรือติ่ง ในอดีตจึงนิยมใช้เฉพาะการพาดหัวโดยหลีกเสี่ยงการเขียนข้อความที่ต่อเนื่องยาวๆ แต่ปัจจุบันด้วยประสิทธิภาพทางเทคโนโลยีเราจึงเห็นตัวพิมพ์แบบนี้ในข้อความที่ต่อเนื่องได้เช่นกัน
SCRIPT
ตัวพิมพ์แบบตัวเขียน (Script or cursive typefaces) มีรูปแบบเหมือนเวลาเขียนด้วยลายมือภาษาอังกฤษคือเป็นเส้นต่อเนื่องไปแต่ละตัวเรื่อยๆ มักมีลักษณะความหนาบางของเส้นตัวอักษรไม่เท่ากันตลอดทั้งตัวอักษรเหมาะกับการพิมพ์ข้อความสั้นๆ
MONOSPACED
พัฒนามาจากการใช้พิมพ์ดีดที่ช่องว่างจะเท่ากันทุกช่อง ต่อมาก็มีการพัฒนาสำหรับใช้งานการพิมพ์บนคอมพิวเตอร์อ่านง่าย สบายตา
DISPLAY
ตัวพิมพ์แบบตัวตกแต่ง (Display Typefaces) จุดเด่นอยู่ที่ความอิสระในรูปทรงของตัวอักษรแตกต่างจากตัวอักษรทั่วไป มักถูกนำไปใช้งานประเภทตกแต่งโดยเฉพาะไม่ควรใช้ในการพิมพ์ข้อความยาวๆ แต่นิยมใช้ในการพาดหัว เพื่อแสดงบุคลิกภาพเฉพาะพิเศษตามวัตถุประสงค์นั้นๆ ตัวพิมพ์ประเภทนี้ไม่จำกัดอยู่ว่าจะต้องเป็นตัวอักษรล้วนๆ อาจนำภาพอื่นๆ มาผสมให้กลมกลืนกันหรือตัดทอน ต่อเดิม หรือแปรรูปอย่างใดก็ได้ให้เกิดความพิเศษในตัว
ชนิดของตัวอักษรภาษาไทย
ตัวอาลักษณ์
ตัวอาลักษณ์ เทียบได้กับตัวพิมพ์แบบคัดลายมือในตัวพิมพ์ภาษาอังกฤษเพราะเป็นตัวพิมพ์ที่มีลักษณะเหมือนการคัดลายมือด้วยปากกาคอแร้งเช่นกันนิยมใช้กับข้อความสั้นๆ ที่ให้บุคลิกแบบโบราณ เช่น โปสเตอร์หนังย้อนยุค บอร์ดการจัดเทศกาลไทยๆ ตามประเพณี, บรรจุภัณฑ์สินค้าที่แสดงความเป็นเอกลักษณ์ไทยโบราณ
ตัวอาลักษณ์แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่
1.1 ตัวอาลักษณ์ที่มีเส้นตัวอักษรเท่ากัน
1.2 ตัวอาลักษณ์ที่มีเส้นตัวอักษรไม่เท่ากัน
แบบตัวเขียน
ตัวพิมพ์แบบเขียน เป็นตัวพิมพ์ที่มีลักษณะเหมือนการเขียนด้วยลายมือ นิยมในการพิมพ์ข้อความสั้นๆ เช่น บัตรเชิญ
ตัวพิมพ์แบบเขียนแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคื
2.1ตัวพิมพ์แบบเขียนที่มีตัวอักษรเท่ากัน
2.2 ตัวพิมพ์แบบเขียนที่มีตัวอักษรไม่เท่ากัน
แบบมีหัวเป็นตัวพิมพ์
ตัวพิมพ์แบบมีหัวเป็นตัวพิมพ์ที่มีหัวเป็นวงกลม เป็นตัวภาษาไทยที่อ่านง่ายที่สุดจึงนิยมใช้พิมพ์ข้อความหรือเนื้อเรื่องในลักษณะยาวๆ
สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ
3.1 ตัวพิมพ์แบบมีหัวที่มีเส้นตัวอักษรเท่ากัน
3.2 ตัวพิมพ์แบบมีหัวที่มีเส้นตัวอักษรไม่เท่ากัน
แบบไม่มีหัวหรือตัวปาด
ตัวพิมพ์แบบไม่มีหัวหรือตัวปาด เป็นตัวพิมพ์ที่มีหัวเป็นจะงอยเหมือนถูกปาดออก
แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ
4.1 ตัวพิมพ์แบบไม่มีหัวหรือตัวปาดที่มีเส้นตัวอักษรเท่ากัน
4.2 ตัวพิมพ์แบบไม่มีหัวหรือตัวปาดที่มีเส้นตัวอักษรไม่เท่ากัน
แบบตัวตกแต่ง
ตัวพิมพ์แบบตัวตกแต่ง เป็นตัวพิมพ์ที่ได้รับการออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อใช้ในงานเฉพาะอย่างมักใช้กับข้อความสั้นๆ เช่น พาดหัวแต่อาจจะอ่านได้ค่อนข้างยาก
สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ
5.1 ตัวพิมพ์แบบตัวตกแต่งที่มีเส้นตัวอักษรเท่ากัน
5.2 ตัวพิมพ์แบบตัวตกแต่งที่มีเส้นตัวอักษรไม่เท่ากัน
ดูฟอนต์ไทยเพิ่มเติมได้ที่ https://thaifonts.thaifaces.com/
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม